Knowledg Management |
.....มาจาก 2 คำ คือ ความรู้ (Knowledg) กับ การจัดการ( Management) คำว่า ความรู้ หมายถึง ผลรวมของสิ่งที่ |
รู้ ซึ่งประกอบด้วย ข้อเท็จจริง หลักการและสารสนเทศที่ช่วยในการปฏิบัติงาน ส่วนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง |
กระบวนการที่ทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรและการมอบหมายงาน การใช้ทักษะความเป็นผู้นำ และการสร้าง |
แรงจูงใจ ตลอดจนการติดตามและควบคุมงาน |
.....การจัดการความรู้ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า KM คือ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไป |
พร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่ |
การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ |
|
|
|
3 ประการใหญ่ ๆ ได้แก่ |
|
1. เพื่อพัฒนาการงาน ให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น |
|
2. เพื่อพัฒนาคน คือ พัฒนาผู้ปฏิบัติงาน ก็คือ ประชาชนทุกระดับ แต่จะได้ ประโยชน์มากที่สุดคือ คนหา |
เช้ากินค่ำและประชาชนระดับกลาง |
|
3. เพื่อการพัฒนา "ฐานความรู้" ของสังคมเป็นการเพิ่มพูนทุนความรู้หรือทุนปัญญาของสังคม ซึ่งจะช่วยให้ |
สังคมและประชาชนมีศักยภาพในการฟันฝ่าความยากลำบากหรือความไม่แน่นอนในอนาคตได้ดีขึ้น |
|
|
|
|
1. Know-what เป็นความรู้เชิงทฤษฎีล้วน ๆ เปรียบเสมือนความรู้ของผู้จบปริญญาตรีมาหมาด ๆ เมื่อนำ |
ความรู้เหล่านี้ไปใช้งานก็จะได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง |
|
2. Know-how เป็นความรู้ที่มีทั้งเชิงทฤษฎีและเชิงบริบท เปรียบเสมือนความรู้ของผู้จบปริญญาและมี |
ประสบการณ์ทำงานระยะหนึ่ง เช่น 2 - 3 ปี ก็จะมีความรู้ในลักษณะที่รู้จักปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือบริบท |
|
3. Know-why เป็นความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผลได้ ว่าทำไมความรู้นั้น ๆ จึงใช้ได้ผลในบริบทหนึ่ง |
แต่ใช้ไม่ได้ผลในอีกบริบทหนึ่ง |
|
4. care-why เป็นความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ ซึ่งจะเป็นแรงขับดันมาจากภายในจิตใจ ให้ต้องกระทำ |
สิ่งต่าง ๆ เมื่อเผชิญสถานการณ์ |
|
|
|
|
|
แรงจูงใจในการริเริ่มการจัดการความรู้ |
|
- แรงจูงใจแท้ ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน และองค์กร
|
เป็นเงื่อนไขสำคัญในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ |
|
- แรงจูงใจเทียม ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ เป็นต้นเหตุที่นำ
|
ไปสู่การทำการจัดการความรู้แบบเทียม และนำไปสู่ความล้มเหลวในที่สุด เช่น ทำเพราะถูกบีบบังคับตามข้อกำหนด |
กล่าวคือ ทำเพียงให้ได้ชื่อว่าทำ หรือเพื่อชื่อเสียง ทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรดูดี หรือมาจากความต้องการของหน่วย |
ย่อยภายในองค์กร แต่ไม่เข้าใจความหมายและวิธีการดำเนินการจัดความรู้อย่างแท้จริง |
|
......ดัดังนั้นการจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิดเอาการจัดการความรู้ |
เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการเรียนรู้เทียมหรือปลอม |
เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดความรู้เท่านั้นเอง |
|
|
|
|