• หน้าหลัก

แนะนำคณะ

  • ประวัติ

  • วิสัยทัศน์

  • พันธกิจ

  • วัฒนธรรมองค์กร

  • สมรรถนะหลัก

  • ค่านิยมร่วม

  • สัญลักษณ์

  • สีประจำ

  • ผู้บริหาร


ประวัติคณะ

พ.ศ.2518 - 2520

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จัดตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.วิทยาลัยครู พ.ศ.2518 ปรับเปลี่ยนการบริหารจากเดิมในสาขาภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ สาขาดนตรี นาฏศิลป์ และบรรณารักษศาสตร์ รวมเข้าเป็นคณะเดียวกันและแยกการบริหารออกเป็นภาควิชาต่าง ๆ 11 ภาควิชา ได้แก่

  • ภาควิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาต่างประเทศ
  • ภาควิชาภูมิศาสตร์ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
  • ภาควิชาสังคมวิทยา ภาควิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
  • ภาควิชานาฏศิลป์ ภาควิชาดนตรี
  • ภาควิชาศิลปศึกษา

พ.ศ. 2527 - 2537

พ.ศ. 2527

มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. วิทยาลัยครู ฉบับที่ 2 ให้วิทยาลัยครูเปิดสอน วิชาชีพอื่นนอกเหนือจากวิชาชีพครูได้จึงเปิดสอนสาขาศิลปศาสตร์เพิ่มขึ้น คือ วิชาเอกการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จึงรับผิดชอบการผลิตบัณฑิตสาขาศิลปศาสตร์เพิ่มขึ้นอีกสาขาหนึ่ง

พ.ศ. 2535

กระทรวงศึกษาธิการได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทางนามใหม่แก่วิทยาลัยครูสงขลา เป็น "สถาบันราชภัฏ" เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 โดยให้ต่อท้ายชื่อด้วยชื่อเดิมของมหาวิทยาลัยครูแต่ละแห่ง วิทยาลัยครูสงขลาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏสงขลา"

พ.ศ. 2537

รัฐบาลได้เสนอพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏฉบับใหม่ ผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภาและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538

สาระสำคัญ

พ.ร.บ.ฉบับใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารวิชาการ คือ ให้สถาบันราชภัฏเปิดสอนในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรีได้ และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร โดยยกเลิกคำว่า "คณะวิชา" เป็น "คณะ" และเปลี่ยนผู้บริหารคณะจาก "หัวหน้าคณะวิชา" เป็น "คณบดี"

พ.ศ.2539 - 2546

พ.ศ.2539

สถาบันราชภัฏสงขลาได้มีโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ โดยให้แยกภาควิชาที่สังกัดคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ไปสังกัดโครงการจัด ตั้งคณะศิลปกรรม ศาสตร์ 3 ภาควิชา คือ ภาควิชาดนตรี ภาควิชานาฏศิลป์ และภาควิชาศิลปศึกษา

พ.ศ.2540

สภาสถาบันราชภัฏ ได้มีมติเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2540 ให้สถาบันราชภัฏจัดการบริหารคณะต่างๆ เป็นแบบโปรแกรมวิชาเพื่อให้มีการบริหารจัดการบุคลากรและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพ และมีความร่วมมือกันมากขึ้น

พ.ศ.2542

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประกอบด้วย โปรแกรมวิชาต่าง ๆ จำนวน 9 โปรแกรมวิชา แบ่งออกเป็นหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษา 6 โปรแกรมวิชา ดังนี้ โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ (ค.บ.) โปรแกรมวิชาภาษาไทย โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์ โปรแกรมวิชาประวัติศาสตร์ โปรแกรมวิชาภูมิศาสตร์ และโปรแกรมวิชาสังคมศึกษา หลักสูตรสาขาศิลปศาสตร์ มี 5 โปรแกรมวิชา ดังนี้ โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ(ศศ.บ.) โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และโปรแกรมวิชาภาษาไทย

ปีการศึกษา 2546

นักศึกษาสายครุศาสตร์เปลี่ยนไปสังกัดคณะครุศาสตร์ แต่ในด้านการบริหารคณาจารย์ในโปรแกรมวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอนนักศึกษา ในรายวิชาเฉพาะนั้นยังคงสังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

พ.ศ.2547 - 2553

พ.ศ. 2547

สถาบันราชภัฏทุกแห่ง เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พุทธศักราช 2547 ทำให้สถาบันราชภัฏสงขลาเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประกอบด้วย 6 โปรแกรมวิชา ได้แก่ โปรแกรมวิชาภาษาต่างประเทศ โปรแกรมวิชาภาษาไทย โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์ โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน และโปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์

พ.ศ. 2550

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้ปรับโครงสร้างการบริหารงานจาก "โปรแกรมวิชา" เป็น "สาขาวิชา" ประกอบด้วย 5 สาขาวิชา และ 2 โครงการจัดตั้ง ได้แก่ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน สาขาวิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษาอังกฤษ โครงการจัดตั้งสาขาวิชาภาษาตะวันออก และโครงการจัดตั้งสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์

พ.ศ. 2553

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้ปรับโครงสร้างการบริหารงานจาก "สาขาวิชา" เป็น "โปรแกรมวิชา" ประกอบด้วย 5 โปรแกรมวิชา ได้แก่ โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน โปรแกรมวิชาสังคมศาสตร์ โปรแกรมวิชาภาษาไทย และโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ

ปัจจุบัน

เปิดสอนในระดับปริญญาตรี มีหลักสูตรทั้งหมด จำนวน 10 สาขาวิชา ดังนี้

  • ศศ.บ.(ภาษาไทย)
  • วท.บ.(ภูมิสารสนเทศ)
  • ศศ.บ.(ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจบริการ)
  • ศศ.บ.(ภาษาอังกฤษ)
  • รป.บ.(รัฐประศาสนศาสตร์)
  • ศศ.บ.(การพัฒนาชุมชน)
  • ศศ.บ.(สวัสดิการสังคม)
  • ค.บ.(ภาษาจีน)
  • ศศ.บ.(ประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม)
  • ศศ.บ.(อินโดนีเซีย–มาเลเซียศึกษาเพื่องานระหว่างประเทศ)

วิสัยทัศน์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นองค์กรสมรรถนะสูงเพื่อผลิตบัณฑิตและพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน






พันธกิจ

จัดการศึกษาที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานระดับชาติ หรือนานาชาติ
วิจัยและสร้างนวัตกรรม บริการวิชาการ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สู่ความยั่งยืน
ส่งเสริม และสืบสาน ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น
พัฒนาระบบบริหารจัดการสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับการพัฒนาที่ยั่งยืน

วัฒนธรรมองค์กร

มด (ร่วมมือกันทำงาน/แสวงหาโอกาสใหม่ ๆ/สร้างองค์การที่เข้มแข็ง)

สมรรถนะหลัก

คณะมีหลักสูตรที่หลากหลายและทันสมัย ตรงตามความต้องการของผู้เรียน

คณะมีงานวิจัยและบริการวิชาการที่ตอบสนองและเข้าถึงความต้องการเชิงพื้นที่เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

ค่านิยมร่วม

MOD

Moral Teamwork ทีมคุณธรรม

Opportunity to Success นำพาโอกาส

Driving to Sustainability ขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน

สัญลักษณ์

ดอกเสลา

เสลา (อ่านว่า สะ-เหฺลา, ชื่อวิทยาศาสตร์: Lagerstroemia loudoni Teijsm. & Binn.) เป็นต้นไม้ขนาดกลางโตช้า ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร เรือนยอดทรงกลมทึบ ใบดก กิ่งโน้มลงรอบทรงพุ่ม เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีรอยแตกเป็นทางยาวตลอดลำต้น ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 6-10 ซม. ยาว 16-24 ซม. ปลายเรียวแหลมเป็นติ่ง โคนมน เนื้อใบหนาปานกลาง เส้นใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกสีม่วง ม่วงอมชมพู หรือม่วงกับขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5-8 แฉก กลีบดอกส่วนใหญ่เป็น 6 กลีบ รูปกลมบางยับย่น ขอบย้วย โคนคอดเป็นก้านสั้นๆ เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซม. เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลรูปเกือบกลม ผิวแข็ง ยาวประมาณ 2 ซม. ผลแห้งแตกตามยาว 5-6 พู เมล็ดสีน้ำตาลเข้มจำนวนมาก มีปีก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด นิเวศวิทยา ขึ้นตามป่าเบญจพรรณป่าดิบและป่าชายหาด


สีชมพู

(#DF5C8E)






ผศ.ดร.รัชชพงษ์ ชัชวาลย์

คณบดี

ผศ.ดร.ศดานนท์ วัตตธรรม

รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา

ดร.โชติกา รติชลิยกุล

รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

ดร.ไชยา เกษารัตน์

รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา

ดร.มุจลินทร์ ผลกล้า

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาและสื่อสารองค์กร

อาจารย์ตะวัน รัตนประเสริฐ

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
VISION

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นองค์กรสมรรถนะสูงเพื่อผลิตบัณฑิตและพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน


CORE VALUES

M = Moral Teamwork ทีมคุณธรรม

O = Opportunity to Success นำพาโอกาส

D = Driving to Sustainability ขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน

HUSO.SKRU

  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับ
  • หลักสูตร
  • การบริหาร
  • บุคลากร

งาน/กิจกรรม

  • งานกิจการนักศึกษา
  • งานวิจัย
  • งานประกันคุณภาพฯ
  • งานแผนและงบ
  • งานวิชาการ

Contact Us

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
160 หมู่ 4 ถนนกาญจนวนิช ตำบลเขารูปช้าง
อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
Phone: 074-260262,074-260263
Email:huso@gmail.com

© Copyright คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
โดย หน่วยระบบสารสนเทศคณะ