วิถี เขา-โหนด-นา-เล แห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน   

(15 กุมภาพันธ์ 2565)

   งานวิจัยและบริการวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์​ วิถี เขา-โหนด-นา-เล แห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน โครงการศึกษาศักยภาพและจัดทำแผนขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา นำโดย ดร.โชติกา รติชลิยกุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ร่วมกับ อ.กรณิภา ศรีวรเดชไพศาล อ.เอมอร อ่าวสกุล และ อ.สิทธิพร ศรีผ่อง คณะทำงาน จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้รับการพิจารณาจาก องค์กรบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) และบริษัทเทคโก้ จำกัด อีกทั้งยังได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายคือ มหาวิทยาลัยทักษิณ และสถาบันทักษิณคดีศึกษา เมื่อวันศุกร์ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มีการจัดประชุมกลุ่มการจัดการท่องเที่ยว กลุ่มหน่วยงานหนุนเสริมที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่รอบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ทั้งสามจังหวัดคือ สงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช เพื่อค้นหาศักยภาพการประกาศพื้นที่พิเศษลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และการจัดทำ (ร่าง) แผนขับเคลื่อน การพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่พิเศษลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ถึง 300 คน โครงการนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายแผนยุทธศาสตร์ประสานงานกับท้องถิ่น ให้มีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วัฒนธรรม วิถีชีวิต และความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ และเป็นทะเลแบบลากูนหนึ่งเดียวของประเทศไทย และเป็นหนึ่งเดียวใน 117 แห่งทั่วโลก สำหรับโครงการนี้เป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากหน่วยงานเอกชน รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายการทำงานที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นที่รู้จักในวงวิชาการ ด้านการบริการวิชาการให้กับทั้งภาคเอกชนและภาครัฐอย่างมีคุณภาพต่อไป