ยกระดับภูมิปัญญา หมอโหนด ต้าน ตึง   

(7 มีนาคม 2564)

    อ.ดร.รัชชพงษ์ ชัชวาลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พร้อมแล้วกับการลุยงานและสานต่องานบริการวิชาการเพื่อยกระดับภูมิปัญญา หมอโหนด ต้าน ตึง กลุ่มสวนเพชรปลายนา ต.ท่าหิน อ.สะทิงพระ จ.สงขลา ซึ่งเป็นการนำก้าน ไม้ตาลหนุ่มสาว คือไม้ตาลโตนดที่ยังไม่ทันร่วงหล่นจากต้น เนื่องจากจะคงความเหนียว แข็งแรงแต่มีคุณสมบัติพิเศษคือมีน้ำหนักเบา มาทำเป็นอุปกรณ์ยืดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นเพื่อความผ่อนคลาย เป็นภูมิปัญญาชุมชนที่ล้ำค่า เหมาะกับผู้สูงอายุ และผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยร่างกาย มาพัฒนาต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่มพร้อมทั้งส่งเสริมการขายการออกแบบบรรจุภัณฑ์ วางแผนการตลาด ให้กับชุมชน ทั้งหมดนี้ท่านคณบดีได้มอบหมายให้… แม่ทัพนำทีมลงชุมชน โดย อ.ดร.โชติกา รติชลิยกุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ อ.กรณิภา ศรีวรเดชไพศาล ปลุกไฟแห่งความเป็น #วิศวกรสังคม ของนักศึกษาให้ลุกโชนพร้อมลงพื้นที่ช่วยหนุนเสริม พัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ให้ปลอดภัยและขายได้ เพื่อไปสู่แผนการขอยื่นจดอนุสิทธิบัตรและขอรับรองเครื่องมือปลอดภัยให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนเพชรปลายนาในอนาคตอีกด้วย งานนี้จะสำเร็จไปไม่ได้หากขาดผู้สนับสนุนแหล่งทุน คือธนาคารออมสิน ภายใต้โครงการ #ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ที่ทำให้ชาวมนุษย์มดของเรามีพลังใจในการลงพื้นที่เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีคุณภาพต่อไป